วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงานข่าวล่าสุด เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้ประกาศให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถดาวน์โหลด Office 2010 เวอร์ชันทดลอง (Office 2010 beta) ไปใช้กันได้แล้ว โดยทางบริษัทคาดว่า น่าจะมีผู้ใช้ที่สนใจดาวน์โหลดไปลองใช้อย่างน้อย 1 ล้านราย"ในกรณีที่คุณใช้ Office 2003 อยู่แล้วเกิดอยากลองใช้ Office 2010 คุณอาจจะรู้สึกว่า เหมือนเริ่มหัดใช้ซอฟต์แวร์กันใหม่เลยทีเดียว เนื่องจากส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าคุ้นเคยกับ Office 2007 อยู่แล้ว คุณจะสามารถใช้ออฟฟิศรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว" Chris Capossela รองประธานอาวุโสแผนกธุรกิจของไมโครซอฟท์ กล่าวเขายังกล่าวอีกด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่าง Office 2003 และ Office 2007 จะไม่ได้มีความแตกต่างของอินเตอร์เฟซมากนัก เมื่อขยับขึ้นมาใช้ Office 2010 แต่ผู้ใช้จะรู้สึกว่า มันใช้งานง่าย และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ลงตัวกว่าเดิมมาก นอกจากนี้ Capossela ยังเชื่ออีกด้วยว่า ผู้ใช้จะต้องรู้สึกตื่นเต้นกับคุณสมบัติใหม่ๆ มากมายทีมาพร้อมกับออฟฟิศ 2010 อย่างเช่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


โมเมนต์ของแรง โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตรทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิการูปแสดงทิศทางของโมเมนต์จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่าผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกาคานหลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์รูปแสดงลักษณะของคานส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคานการจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 12. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 23. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 3การผ่อนแรงของคาน จะมีค่ามากหรือน้อยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W ว่าถ้าระยะ EF ยาวหรือสั้นกว่าระยะ WF ถ้าในกรณีที่ยาวกว่าก็จะช่วยผ่อนแรง ถ้าสั้นกว่าก็จะไม่ผ่อนแรงหลักการคำนวณเรื่องคาน มีดังนี้1. ถ้าโจทย์ไม่บอกน้ำหนักของคานมาให้ เราไม่ต้องคิดน้ำหนักของคาน ถือว่าคานนั้นเบามาก2. ในการคำนวณให้ถือว่า คานมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด3. ถ้าโจทย์บอกน้ำหนักคานมาให้ต้องคิดน้ำหนักคานด้วย โดยถือว่าน้ำหนักของคานจะอยู่จุดกึ่งกลางคานเสมอ4. เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา5. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับ ผลบวกของโมเมนต์ย่อยแต่ละชนิด6. เมื่อมีแรงมากระทำที่จุดหมุน ค่าของโมเมนต์มีค่าเท่ากับศูนย์เพราะระยะทางเป็นศูนย์ ดังนี้โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง= แรง x 0โมเมนต์ = 0หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่นตัวอย่างที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุลวิธีทำ สมมุติให้แขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน x เมตร คิดโมเมนต์ที่จุด Fต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน 4 เมตร ตอบตัวอย่างที่ 2 คานยาว 10 เมตรงัดวัตถุหนัก 100 นิวตัน โดยวางให้จุดหมุนอยู่ห่างจากวัตถุ 1 เมตร จงหาว่า จะต้องออกแรงที่ปลายคานอีกข้างหนึ่งเท่าไรวิธีทำ คิดโมเมนต์ที่จุด Fต้องออกแรงพยายาม = 11.11 นิวตัน ตอบ
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

เรื่อง โมเมนต์ของแรงแรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุดนิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่งหน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)ผลของแรง1. แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็นงาน2. แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็นโมเมนต์โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือโมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรงหน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตรโมเมนต์มี 2 ชนิด คือ1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกากฏของโมเมนต์เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่าผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

แรงเสียดทานแรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่ใช้ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุกำหนดให้วัตถุมวล m มีน้ำหนัก mg วางอยู่บนพื้นราบ ดังรูปโดย N คือ แรงปฏิกิริยาของพื้นที่กระทำต่อวัตถุmg คือ น้ำหนักของวัตถุที่กระทำต่อพื้น (กดลงพื้น)เราสามารถพิจารณาผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุได้ในหลายๆ กรณี ดังต่อไปนี้1.เมื่อวัตถุอยู่นิ่ง ไม่มีแรงภายนอกมากระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับศูนย์2.เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางขวา คือมีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกระทำต่อผิวล่างของวัตถุที่สัมผัสกับพื้น ดังรูปโดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอจะได้ว่า F = f นั่นคือ แรงภายนอกที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่จะมีค่าเท่ากับแรงเสียดทาน3.เมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุเดิมแต่มีทิศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวา แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางซ้ายคอยต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานประเภทของแรงเสียดทานแรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1.แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) เป็นแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากผิววัตถุ 2 ชนิด มาสัมผัสกัน พบว่า แรงเสียดทานที่เกิดจะมีค่าไม่คงที่ จะมีปริมาณเท่ากับแรงที่มากระทำและจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่2.แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดกับผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิด ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่น การกลิ้งของวัตถุ การลื่นไถลของวัตถุ และการไหลของวัตถุ เป็นต้นแรงเสียดทานเนื่องจากการกลิ้งของวัตถุและแรงเสียดทานเนื่องจากการลื่นไถลของวัตถุนั้นขนาดของแรงเสียดทานจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุ ตัวอย่างเช่น เราสามารถดันรถยนต์ที่เข้าเกียร์ว่างไว้ให้เคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าการดันรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้นนอกจากนี้แรงเสียดทานยังขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของผิวหน้าของพื้นที่วัตถุสัมผัส พื้นผิวหน้าขรุขระจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากกว่าพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ ตัวอย่างเช่น แรงเสียดทานบนพื้นทรายมีค่ามากกว่าแรงเสียดทานบนพื้นคอนกรีตที่เป็นทางวิ่งของสเกตบอร์ด ส่วนแรงเสียดทานจะเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อคนดันกล่องไม้ให้เคลื่อนที่บนพื้นที่มีผิวหน้าเรียบแรงเสียดทานเนื่องจากของไหล เช่น น้ำ ลม หรืออากาศ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ข้าม ขวาง หรือผ่านเข้าไปในของไหลหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถีบรถจักรยานปะทะลม หรือว่ายดำน้ำลงไปยังก้นสระหรือในทะเล ในของไหลนี้แรงเสียดทานของวัตถุจะขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความเร็วของวัตถุด้วยสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่กับแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส นักวิทยาศาสตร์ใช้อักษรมิว เป็นสัญลักษณ์แทน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น


สวัสดิศกสิ่งศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิผล บันดาลดลสมประสงค์จงพรรษาให้ปราศทุกข์ปลอดโรคภัยไร้โรคา บุญนำพาร่ำรวยทรัพย์นับอนันต์ให้สูงศักดิ์สูงยศปรากฏชื่อ เกียรติก้องลือชาเดชทั่วเขตขัณฑ์ชาญวิชาเชาว์ปัญญาเลิศพลานันท์ เกษมสันต์ตลอดปีมีสุขเทอญ





ใบความรู้ที่ 35เรื่อง แรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกเป็นแรงที่เกิดจากโลกออกแรงดึงดูดวัตถุต่างๆ ให้ไปยังจุดศูนย์กลางของโลก โดยแรงนี้จะกระทำต่อวัตถุต่างๆ อยู่ตลอดเวลาน้ำหนักวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ที่กล่าวว่ามีน้ำหนักนั้นเนื่องจาก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุให้ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกล่าวถึงน้ำหนักก็จะต้องกล่าวถึงมวลด้วย มวลและน้ำหนักไม่ใช่สิ่งเดียวกันมวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุน้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุถ้าให้ m1 เป็นมวลของวัตถุm2 เป็นมวลของโลกR เป็นระยะห่างจากจุดศูนย์กลางโลกถึงวัตถุF เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกและวัตถุหรือจะได้ว่าF =Gm1M2/R2 G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล มีค่า 6.67 × 10-11 Nm2/ kg2นํ้าหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งๆ เมื่อชั่งในบริเวณต่างกันจะมีค่าต่างกัน โดยนํ้าหนักของมวล1 กิโลกรัมที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่าประมาณ 9.78 นิวตัน ในขณะที่นํ้ าหนักของมวล 1 กิโลกรัมที่บริเวณขั้วโลกมีค่าประมาณ 9.83 นิวตันถ้าวัตถุมีมวลมากแล้ว โลกก็จะต้องออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นมากด้วย วัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นก็จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้นมีมวลน้อย โลกก็จะออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นน้อย วัตถุที่มีขนาดเบา ก็จะมีน้ำหนักน้อยเช่นกันน้ำหนัก คือแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราแขวนแอบเปิ้ลที่ตะขอของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน น้ำหนักของแอปเปิ้ลจะกรทำต่อสปริง แรงที่เกิดจากน้ำหนักของผลแอบเปิลจะกรทำต่อสปริงทำให้สปริงเปลี่ยนรูปร่างและขนาดได้มนุษย์รู้จักธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วง เช่น การใช้สามเกอตอกเสาเข็มซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นปั้นจั่น การใช้ประโยชน์จากการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่นก็อาศัยน้ำหนักตัวเรา ทำให้เคลื่อนที่ลงมาตามไม้ลื่นได้การพัฒนารูปร่างของยานพาหนะก็ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของยานพาหนะและน้ำหนักของสัมภาระที่จะบรรทุกด้วย เพราะถ้าบรรทุกน้ำหนักมาก พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะก็จะสิ้นเปลืองมากด้วย การยกของและการเดินขึ้นสู่ที่สูงต้องออกแรงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง หรืออำนวยความสะดวก เช่น รอก ลิฟท์ เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ที่สูงทำได้สะดวกและง่ายขึ้น
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น





1/3
เด็กชาย กิตติพงศ์ แก้วนาค
เด็กชาย จเร เขาวิเศษ
เด็กชาย จิรวัฒน์ บุรี
เด็กชาย ทนงศักดิ์ นิราศ
เด็กชาย ทัศนัย ใยไม้
เด็กชาย นิรุทธ์ แก้วกุลศรี
ด็กชาย ปฏิธาร พิงชัยภูมิ
เด็กชายพงศกร ท้าวนาม
เด็กชาย วราเทพ สุภานุสร
เด็กชาย วัชรพงษ์ ดงดอน
เด็กชาย สิทธิพร ทองธรรม
เด็กชาย สืบวงศ์ รอสูงเนิน
เด็กชาย สุทธิพงษ์ ดีอ่อน
เด็กชาย อภิรมย์ โอ่งอิน
เด็กชาย อิทธิพร มีแก้ว
เด็กหญิง กนกพร คชสิงห์
เด็กหญิง กนกพร ประชัน
เด็กหญิง กนกวรรณ โนนพยอม
เด็กหญิง กมลวรรณ จีทา
เด็กหญิง กัลยาณี แก้วกัญจะ
เด็กหญิง เจนจิรา ทองดี
เด็กหญิง ชไมพร ดงดอน
เด็กหญิง ทัดดาว ช่างเจรจา
เด็กหญิง ธนธรณ์ ยงญาติ
เด็กหญิง ปพิชญา เชาว์ดี
เด็กหญิง ปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร
เด็กหญิง พรธิภา ยอดแย้ม
เด็กหญิง พัชรินญา นิระโทษะ
เด็กหญิง แพรวพรรณ ชมโฉม
เด็กหญิง มธุรส สุวรรณี
เด็กหญิง มัสลิตตา เคราะห์ดี
เด็กหญิง ลักขณา นิตรา
เด็กหญิง วราภรณ์ ทุนมาก
เด็กหญิง สิรินยา มหาภาส
เด็กหญิง สุดารัตน์ แซ่ลี
เด็กหญิงสุทธิกานต์ รื่นกลิ่น
เด็กหญิง แสงระวี เข็มทิศ
เด็กหญิง หทัยชนก สุขย่น
เด็กหญิง หนึ่งฤทัย มโหธร
เด็กหญิง อภิญญา สีแดง