วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การวัดความเร็วและทิศทางของลม
ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์"(anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัดหรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบและมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์การวัดความเร็วและทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่นนอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมงกิโลเมตรต่อชั่วโมงไมล์ (บก) ต่อชั่วโมงนอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ[กลับหัวข้อหลัก]เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]มาตราลมโบฟอร์ตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิสโบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔-๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนามาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ในการ เดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau-fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่งกำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒ โดยมีคำบรรยายเครื่องหมายและเปรียบเทียบความเร็วที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/การตรวจอากาศ/แรงดันอากาศแรงดันของอากาศหรือ ความดันของอากาศ นั้น ในการพยากรณ์อากาศจะเรียกว่า ความกดอากาศ จะมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอากาศห่อหุ้มโลกอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีน้ำหนักกดลงบนผิวโลก บนตัวเรา หรือ บนวัตถุต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาความกดดันของอากาศ มีค่าประมาณ 15 ปอนด์ ต่อ พื้นที่ 1 ตารางนิ้วที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งเรียกความกดดันนี้ว่า "ความกดดัน 1 บรรยากาศ" ซึ่งเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอทในการวัดความดันอากาศ เรามักวัดเป็นส่วนสูงของน้ำ หรือส่วนสูงของปรอท ทอริเซลลิ (Toricelli) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นคนแรกที่คิดหาความดันของอากาศโดยใช้ ปรอทศึกษาความดันบรรยากาศแล้วนำไปสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศเรียก ว่า "บารอมิเตอร์" (baromiter)บารอมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศ ที่นิยมใช้ ได้แก่1.บารอมิเตอร์แบบปรอท สร้างขึ้นดดยใช้หลักการที่อากาศสามารถดันของเหลวให้เข้าไปในหลอดแก้ว เครื่องมือนี้ ประกอบด้วย หลอยแก้ว ปลายปิดด้านหนึ่งและไล่อากาศออก แล้วคว่ำหลอดแก้วลงในภาชนะที่บรรจุปรอท อากาศภายนอกจะดันปรอทเข้าสู่หลอดแก้ว ที่ระดับน้ำทะเล ลำปรอทในหลอดแก้วจะสูง 760 มิลลิเมตร (ถ้าใช้น้ำ แทนปรอท อากาศจะดันน้ำขึ้นสูง 10 เมตร เพราะน้ำเบากว่า 13.6 เท่า) ความดัน 1 บรรยากาศ คือความดันที่ทำให้ลำปรอทขึ้นสูง 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร2.แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ เป็นตลับโลหะ อาจเป็นอลูมิเนียมรูปร่างกลมแบน ผิวเป็นคลื่น ก้นตลับติดกับกรอบโลหะที่แข็งแรง ภายในตลับสูบอากาศออกเกือบหมด ฝาตลับจึงบุบขึ้นลงตามความดันของอากาศภายนอก ตอนบนฝาตลับมีสปริงที่ต่อไปที่คานและเข็มซึ่งชี้บนหน้าปัดที่มีตัวเลขแสดง ความดันของอากาศ3.บารอกราฟ เป็นเครื่องวัดความดันอากาศแบบแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่บันทุกความดันอากาศแบบต่อเนื่องกัน โดยแกนที่ขึ้นลงตามการบุบตัวของตลับโลหะ จะดันเข็มชี้ให้ปลายเข็ม เลื่อนขึ้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งหมุนตลอดเวลา เราจึงสามารถอ่านค่าความกดอากาศในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ บารอมิเตอร์แบบนี้ใช้ในการพยากรณ์อากาศ*ถ้าต้มน้ำในที่สูง จุดเดือดจะลดลงแต่ถ้าต้มในระดับน้ำทะเลจะมีจุดเดือด 100 องศาแอลติมิเตอร์ (พัฒนา มาจากแอนิรอยด์บารอมิเตอร์) เป็นเครื่องวัดระดับความสูง ใช้หลักการแบบแอนิรอยด์ แต่ปรับหน้าปัดให้อ่านระดับความสูงได้ด้วย ใช้สำหรับบอกความสูงของเครื่องบินและติดตัวนักโดดร่ม เพื่อบอกความสูง[ ค้นหาเว็บบอร์ดทุกโรงเรียน แวะไปล่างสุดโฮมเพจ Dek-D ]
ถ้าเรามีความประสงค์จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงความกดของอากาศตลอดชั่วโมง ตลอดวัน หรือตลอดเดือน ก็สามารถทำได้ โดยใช้แขนปากกาต่อกับกล่องโลหะ ซึ่งถูกดูดอากาศออกเป็นบางส่วน แล้วใช้แผ่นบักทึก ความกดม้วนรอบกระบอก ซึ่งหมุนด้วยลานนาฬิกา เครื่องบันทึกความกดอากาศนี้เรียกว่า "บารอกราฟ" (barograph)
ที่มาhttp://nuaom086.blogspot.com/2009_12_01_archive.htmlhttp://guru.sanook.com/encyclopedia/การตรวจอากาศ/

ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มาDamrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชาHaikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีนKirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีKai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่นBolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊าJelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียEwiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลีPrapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทยMaria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSon Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนามBopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชาWukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนSonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีShanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่นLeepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวBebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊าRumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซียSoulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซียCimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลีMangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทยUtor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาTrami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนามKong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชาYutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนToraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีMan-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่นPabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวWutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊าSepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซียFitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซียDanas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลีWipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทยFrancisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาLekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนามKrosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชาHaiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPodul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีLingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่นFaxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวPEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียMitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซียHagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลีRammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทยChataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาHalong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนามNakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชาFengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีนKalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีFung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่นPhanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวVongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊าRusa รูซา กวาง มาเลเซียSinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซียHagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลีMekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทยHigos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกาBavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนามMaysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชาHaishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีYanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่นChan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวLinfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊าNangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซียSoudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซียImbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลีMorakot มรกต มรกต ไทยEtau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาVamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนามKrovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา(กระวาน) Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีนMaemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศเกาหลี Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่นKitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวParma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊าMelor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซียNepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซียLupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลีNida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทยOmais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาConson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนามChanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชาDianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีนMindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีTingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่นNamtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMalou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊าMeranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซียRananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMalakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลีChaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทยAere แอรี สหรัฐอเมริกาSongda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนามSarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชาHaima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีนMeari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก) Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่นNock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMuifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊าMerbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซียNamadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลีKulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทยRoke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนามNesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชาHaitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนNalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีBanyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่นMatsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊าMawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซียGuchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซียTalim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลีKhanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทยVicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกาSaola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนามมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28







ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มาDamrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชาHaikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีนKirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีKai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่นBolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊าJelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียEwiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลีPrapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทยMaria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSon Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนามBopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชาWukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนSonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีShanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่นLeepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวBebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊าRumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซียSoulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซียCimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลีMangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทยUtor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาTrami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนามKong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชาYutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนToraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีMan-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่นPabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวWutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊าSepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซียFitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซียDanas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลีWipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทยFrancisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาLekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนามKrosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชาHaiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPodul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีLingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่นFaxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวPEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียMitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซียHagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลีRammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทยChataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาHalong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนามNakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชาFengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีนKalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีFung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่นPhanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวVongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊าRusa รูซา กวาง มาเลเซียSinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซียHagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลีMekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทยHigos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกาBavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนามMaysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชาHaishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีYanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่นChan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวLinfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊าNangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซียSoudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซียImbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลีMorakot มรกต มรกต ไทยEtau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาVamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนามKrovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา(กระวาน) Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีนMaemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศเกาหลี Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่นKitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวParma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊าMelor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซียNepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซียLupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลีNida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทยOmais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาConson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนามChanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชาDianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีนMindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีTingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่นNamtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMalou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊าMeranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซียRananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMalakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลีChaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทยAere แอรี สหรัฐอเมริกาSongda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนามSarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชาHaima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีนMeari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก) Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่นNock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMuifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊าMerbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซียNamadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลีKulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทยRoke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนามNesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชาHaitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนNalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีBanyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่นMatsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊าMawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซียGuchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซียTalim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลีKhanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทยVicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกาSaola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนามมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )












การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น(ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติแต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้












ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปีปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?ในศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อนส่วนระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปีประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSUหลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศพ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศวันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบันต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้COP-1เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538COP-2จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539COP-3จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540COP-4จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541COP-5จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542COP-6จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543COP-7จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544COP-8จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545COP-9จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86








ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกน้อยกว่า 20% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจาย(Scattered)ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป หมายถึงข้อใดก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนทั่วไป(Widespread)ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร หมายถึงข้อใดก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไปก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตรก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตรก.ฝนหนัก(Heavy Rain) ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณนับไม่ได้ก.ไม่มีฝนตก ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


โมเมนต์ของแรง โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตรทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิการูปแสดงทิศทางของโมเมนต์จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่าผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกาคานหลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์รูปแสดงลักษณะของคานส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคานการจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 12. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 23. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้นรูปแสดงคานอันดับ 3การผ่อนแรงของคาน จะมีค่ามากหรือน้อยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W ว่าถ้าระยะ EF ยาวหรือสั้นกว่าระยะ WF ถ้าในกรณีที่ยาวกว่าก็จะช่วยผ่อนแรง ถ้าสั้นกว่าก็จะไม่ผ่อนแรงหลักการคำนวณเรื่องคาน มีดังนี้1. ถ้าโจทย์ไม่บอกน้ำหนักของคานมาให้ เราไม่ต้องคิดน้ำหนักของคาน ถือว่าคานนั้นเบามาก2. ในการคำนวณให้ถือว่า คานมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด3. ถ้าโจทย์บอกน้ำหนักคานมาให้ต้องคิดน้ำหนักคานด้วย โดยถือว่าน้ำหนักของคานจะอยู่จุดกึ่งกลางคานเสมอ4. เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา5. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับ ผลบวกของโมเมนต์ย่อยแต่ละชนิด6. เมื่อมีแรงมากระทำที่จุดหมุน ค่าของโมเมนต์มีค่าเท่ากับศูนย์เพราะระยะทางเป็นศูนย์ ดังนี้โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง= แรง x 0โมเมนต์ = 0หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่นตัวอย่างที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุลวิธีทำ สมมุติให้แขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน x เมตร คิดโมเมนต์ที่จุด Fต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน 4 เมตร ตอบตัวอย่างที่ 2 คานยาว 10 เมตรงัดวัตถุหนัก 100 นิวตัน โดยวางให้จุดหมุนอยู่ห่างจากวัตถุ 1 เมตร จงหาว่า จะต้องออกแรงที่ปลายคานอีกข้างหนึ่งเท่าไรวิธีทำ คิดโมเมนต์ที่จุด Fต้องออกแรงพยายาม = 11.11 นิวตัน ตอบ
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

เรื่อง โมเมนต์ของแรงแรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุดนิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่งหน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)ผลของแรง1. แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็นงาน2. แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็นโมเมนต์โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือโมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรงหน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตรโมเมนต์มี 2 ชนิด คือ1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกากฏของโมเมนต์เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่าผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น

แรงเสียดทานแรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่ใช้ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุกำหนดให้วัตถุมวล m มีน้ำหนัก mg วางอยู่บนพื้นราบ ดังรูปโดย N คือ แรงปฏิกิริยาของพื้นที่กระทำต่อวัตถุmg คือ น้ำหนักของวัตถุที่กระทำต่อพื้น (กดลงพื้น)เราสามารถพิจารณาผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุได้ในหลายๆ กรณี ดังต่อไปนี้1.เมื่อวัตถุอยู่นิ่ง ไม่มีแรงภายนอกมากระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับศูนย์2.เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางขวา คือมีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกระทำต่อผิวล่างของวัตถุที่สัมผัสกับพื้น ดังรูปโดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอจะได้ว่า F = f นั่นคือ แรงภายนอกที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่จะมีค่าเท่ากับแรงเสียดทาน3.เมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุเดิมแต่มีทิศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวา แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางซ้ายคอยต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่f แทน แรงเสียดทานประเภทของแรงเสียดทานแรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1.แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) เป็นแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากผิววัตถุ 2 ชนิด มาสัมผัสกัน พบว่า แรงเสียดทานที่เกิดจะมีค่าไม่คงที่ จะมีปริมาณเท่ากับแรงที่มากระทำและจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่2.แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดกับผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิด ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่น การกลิ้งของวัตถุ การลื่นไถลของวัตถุ และการไหลของวัตถุ เป็นต้นแรงเสียดทานเนื่องจากการกลิ้งของวัตถุและแรงเสียดทานเนื่องจากการลื่นไถลของวัตถุนั้นขนาดของแรงเสียดทานจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุ ตัวอย่างเช่น เราสามารถดันรถยนต์ที่เข้าเกียร์ว่างไว้ให้เคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าการดันรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้นนอกจากนี้แรงเสียดทานยังขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของผิวหน้าของพื้นที่วัตถุสัมผัส พื้นผิวหน้าขรุขระจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากกว่าพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ ตัวอย่างเช่น แรงเสียดทานบนพื้นทรายมีค่ามากกว่าแรงเสียดทานบนพื้นคอนกรีตที่เป็นทางวิ่งของสเกตบอร์ด ส่วนแรงเสียดทานจะเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อคนดันกล่องไม้ให้เคลื่อนที่บนพื้นที่มีผิวหน้าเรียบแรงเสียดทานเนื่องจากของไหล เช่น น้ำ ลม หรืออากาศ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ข้าม ขวาง หรือผ่านเข้าไปในของไหลหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถีบรถจักรยานปะทะลม หรือว่ายดำน้ำลงไปยังก้นสระหรือในทะเล ในของไหลนี้แรงเสียดทานของวัตถุจะขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความเร็วของวัตถุด้วยสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่กับแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส นักวิทยาศาสตร์ใช้อักษรมิว เป็นสัญลักษณ์แทน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น


สวัสดิศกสิ่งศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิผล บันดาลดลสมประสงค์จงพรรษาให้ปราศทุกข์ปลอดโรคภัยไร้โรคา บุญนำพาร่ำรวยทรัพย์นับอนันต์ให้สูงศักดิ์สูงยศปรากฏชื่อ เกียรติก้องลือชาเดชทั่วเขตขัณฑ์ชาญวิชาเชาว์ปัญญาเลิศพลานันท์ เกษมสันต์ตลอดปีมีสุขเทอญ





ใบความรู้ที่ 35เรื่อง แรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกแรงดึงดูดของโลกเป็นแรงที่เกิดจากโลกออกแรงดึงดูดวัตถุต่างๆ ให้ไปยังจุดศูนย์กลางของโลก โดยแรงนี้จะกระทำต่อวัตถุต่างๆ อยู่ตลอดเวลาน้ำหนักวัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ที่กล่าวว่ามีน้ำหนักนั้นเนื่องจาก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุให้ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกล่าวถึงน้ำหนักก็จะต้องกล่าวถึงมวลด้วย มวลและน้ำหนักไม่ใช่สิ่งเดียวกันมวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุน้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุถ้าให้ m1 เป็นมวลของวัตถุm2 เป็นมวลของโลกR เป็นระยะห่างจากจุดศูนย์กลางโลกถึงวัตถุF เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกและวัตถุหรือจะได้ว่าF =Gm1M2/R2 G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล มีค่า 6.67 × 10-11 Nm2/ kg2นํ้าหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งๆ เมื่อชั่งในบริเวณต่างกันจะมีค่าต่างกัน โดยนํ้าหนักของมวล1 กิโลกรัมที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่าประมาณ 9.78 นิวตัน ในขณะที่นํ้ าหนักของมวล 1 กิโลกรัมที่บริเวณขั้วโลกมีค่าประมาณ 9.83 นิวตันถ้าวัตถุมีมวลมากแล้ว โลกก็จะต้องออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นมากด้วย วัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นก็จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้นมีมวลน้อย โลกก็จะออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นน้อย วัตถุที่มีขนาดเบา ก็จะมีน้ำหนักน้อยเช่นกันน้ำหนัก คือแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราแขวนแอบเปิ้ลที่ตะขอของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน น้ำหนักของแอปเปิ้ลจะกรทำต่อสปริง แรงที่เกิดจากน้ำหนักของผลแอบเปิลจะกรทำต่อสปริงทำให้สปริงเปลี่ยนรูปร่างและขนาดได้มนุษย์รู้จักธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วง เช่น การใช้สามเกอตอกเสาเข็มซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นปั้นจั่น การใช้ประโยชน์จากการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่นก็อาศัยน้ำหนักตัวเรา ทำให้เคลื่อนที่ลงมาตามไม้ลื่นได้การพัฒนารูปร่างของยานพาหนะก็ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของยานพาหนะและน้ำหนักของสัมภาระที่จะบรรทุกด้วย เพราะถ้าบรรทุกน้ำหนักมาก พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะก็จะสิ้นเปลืองมากด้วย การยกของและการเดินขึ้นสู่ที่สูงต้องออกแรงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง หรืออำนวยความสะดวก เช่น รอก ลิฟท์ เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ที่สูงทำได้สะดวกและง่ายขึ้น
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น





1/3
เด็กชาย กิตติพงศ์ แก้วนาค
เด็กชาย จเร เขาวิเศษ
เด็กชาย จิรวัฒน์ บุรี
เด็กชาย ทนงศักดิ์ นิราศ
เด็กชาย ทัศนัย ใยไม้
เด็กชาย นิรุทธ์ แก้วกุลศรี
ด็กชาย ปฏิธาร พิงชัยภูมิ
เด็กชายพงศกร ท้าวนาม
เด็กชาย วราเทพ สุภานุสร
เด็กชาย วัชรพงษ์ ดงดอน
เด็กชาย สิทธิพร ทองธรรม
เด็กชาย สืบวงศ์ รอสูงเนิน
เด็กชาย สุทธิพงษ์ ดีอ่อน
เด็กชาย อภิรมย์ โอ่งอิน
เด็กชาย อิทธิพร มีแก้ว
เด็กหญิง กนกพร คชสิงห์
เด็กหญิง กนกพร ประชัน
เด็กหญิง กนกวรรณ โนนพยอม
เด็กหญิง กมลวรรณ จีทา
เด็กหญิง กัลยาณี แก้วกัญจะ
เด็กหญิง เจนจิรา ทองดี
เด็กหญิง ชไมพร ดงดอน
เด็กหญิง ทัดดาว ช่างเจรจา
เด็กหญิง ธนธรณ์ ยงญาติ
เด็กหญิง ปพิชญา เชาว์ดี
เด็กหญิง ปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร
เด็กหญิง พรธิภา ยอดแย้ม
เด็กหญิง พัชรินญา นิระโทษะ
เด็กหญิง แพรวพรรณ ชมโฉม
เด็กหญิง มธุรส สุวรรณี
เด็กหญิง มัสลิตตา เคราะห์ดี
เด็กหญิง ลักขณา นิตรา
เด็กหญิง วราภรณ์ ทุนมาก
เด็กหญิง สิรินยา มหาภาส
เด็กหญิง สุดารัตน์ แซ่ลี
เด็กหญิงสุทธิกานต์ รื่นกลิ่น
เด็กหญิง แสงระวี เข็มทิศ
เด็กหญิง หทัยชนก สุขย่น
เด็กหญิง หนึ่งฤทัย มโหธร
เด็กหญิง อภิญญา สีแดง